faq-th

From Microformats Wiki
Jump to navigation Jump to search

คำถามที่ถูกถามบ่อยๆเกี่ยวกับไมโครฟอร์แมต

คุณสามารถดูคำถามที่ถูกถามบ่อยๆเกี่ยวกับไมโครฟอร์แมตได้ในหน้านี้ สำหรับคำถามจาก press กรุณาดู press-faq

ถ้าคุณกำลังหาไมโครฟอร์แมตสำหรับ mark up คำถามที่ถูกถามบ่อยๆ (FAQs) ลองอ่าน question-answer

คำถามเกี่ยวกับวิกิ

ถาม: ผมจะสร้างชื่อผู้ใช้ได้อย่างไร? ทำไมวิกิถึงไม่ให้ผมใช้ชื่อที่ผมระบุ?

ตอบ: ก่อนอื่นกรุณาอ่าน: http://en.wikipedia.org/wiki/Wikipedia:Username เราแนะนำให้คุณใช้ชื่อจริงมากกว่าชื่อเล่นหรือนามปากกา เนื่องจากการใช้ชื่อจริงส่งเสริมให้เกิดความโปร่งใสและความรับผิดชอบมากกว่า

ปัญหาที่ผู้ใช้ส่วนใหญ่พบบ่อยที่สุดเวลาสร้างชื่อผู้ใช้คือลืมใช้ตัวอักษรตัวใหญ่สำหรับตัวอักษรแรกของชื่อผู้ใช้ ลองใช้ชื่อจริงของคุณในรูปแบบ WikiCase เป็นชื่อผู้ใช้, เช่น RyanKing

กลุ่มข่าว

ถาม: ผมได้เป็นสมาชิกกลุ่มข่าว แต่ทำไมผมไม่เห็นคำตอบของผมในกลุ่มข่าวเลย?

ตอบ: เราไม่ได้มีการควบคุมข้อความในกลุ่มข่าว microformats-discuss กลุ่มข่าวนี้จะรับข้อความจากสมาชิกเท่านั้น เพราะฉะนั้นคุณจะต้องส่งข้อความหากลุ่มข่าว microformats-discuss ผ่านอีเมล์ที่คุณใช้สมัครเป็นสมาชิกเท่านั้น

ถาม: "The message's content type was not explicitly allowed" หมายความว่าอะไร?

ตอบ: กรุณาอ่าน กฏระเบียบการใช้กลุ่มข่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง:

ห้ามใช้อีเมล์แบบ HTML หรือ RTF โปรแกรมเมล์ของคุณควรจะให้คุณสามาถเลือกที่จะส่งเมล์แบบ plain text ได้ ให้ส่งเมล์ในรูปแบบของ plain text เท่านั้น มิเช่นนั้นอาจไม่มีใครสามารถอ่านเมล์คุณได้

กลุ่มข่าวถูกเซ็ตค่าให้ตีกลับเมล์ที่ถูกส่งในรูปแบบของ text/html โดยอัตโนมัติ เพราะฉะนั้นกรุณาตั้งค่าโปรแกรมเมล์คุณให้ส่งอีเมล์ในรูปแบบของ plain text

คำถามเบื้องต้นเกี่ยวกับไมโครฟอร์แมต

ถาม: xxx หมายความว่าอะไร?

ตอบ: ลองดู อภิธานศัพท์.

ถาม: ใครใช้ไมโครฟอร์แมตบ้าง?

ตอบ: ลองดู รายชื่อผู้ใช้ดังๆ; ผู้ใช้ไมโครฟอร์แมตอื่นๆ และ เครื่องมือสำหรับไมโครฟอร์แมต

ถาม: ไมโครฟอร์แมตมีไว้เพื่ออะไร? และผมควรจะใช้ไมันเมื่อไร?

ตอบ: คุณกำลังเขียน HTML เพื่อแสดงข้อมูลที่มีความหมายเช่นที่อยู่ คุณถามตัวเองว่า: ผมต้องการจะ mark up ข้อมูลนี้ด้วย class เพื่อจัดรูปแบบด้วย CSS แล้วผมควรจะใช้อะไรเป็นชื่อ class เหล่านี้ดีล่ะ? คำตอบก็คือลองดูมาตรฐานไมโครฟอร์แมตที่เกี่ยวข้องดูสิ แล้วก็ใช้ชื่อ class ที่อยู่ในมาตรฐานนั้น เพียงเท่านี้คุณก็ไม่ต้องสร้าง class ของคุณเองขึ้นมา นอกจากนั้นหน้าเว็บของคุณยังมีความหมายสำหรับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เข้าใจ mark up ของคุณอีกด้วย

ไมโครฟอร์แมตถูกออกแบบมาเพื่อให้ข้อมูลทีคุณเผยแพร่ออกไปมีความหมายสำหรับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่อ่านหน้าเว็บของคุณ มันเอื้อประโยชน์ให้โปรแกรมต่างๆ เช่น search engine สามารถใช้ข้อมูลที่คุณเผยแพร่ได้ดีขึ้น

ถาม: ไมโครฟอร์แมตขึ้นอยู่กับ (X)HTML หรือเปล่า?

ตอบ: ไมโครฟอร์แมตถูกสร้างมาให้ถูก embed ในรูปแบบต่างๆได้ ไม่ว่าจะเป็น (X)HTML, RSS, Atom หรือที่ไหนก็ตามที่ใช้ (X)HTML ได้


ถาม: ผมจะช่วยสนับสนุนไมโครฟอร์แมตได้อย่างไร?

ตอบ: ลองดูที่ get-started ถ้าคุณอยากจะใช้งานไมโครฟอร์แมตด้วยตัวเอง และ งานที่ยังค้างอยู่ ถ้าคุณต้องการช่วยในการพัฒนาไมโครฟอร์แมต นอกจากนั้นลองดู http://microformats.org/discuss เพื่อร่วมพูดคุยเกี่ยวกับไมโครฟอร์แมต


ถาม: ผมอยากจะบริจาคเงินเพื่อช่วยเหลือโครงการไมโครฟอร์แมต ผมต้องทำอย่างไร?

ตอบ: ขอบคุณสำหรับความเต็มใจของคุณที่จะช่วยเหลือไมโครฟอร์แมต เราเพิ่งเริ่มก่อตั้งเว็บไซต์นี้มาไม่นาน และก็ได้ตัดสินใจว่าในระหว่างที่เรายังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะรับเงินบริจากยังไง เราขอให้คุณบริจาคเงินให้กับมูลนิธิและโครงการอื่นๆก่อน (เช่น สภากาชาด)


ถาม: ไมโครฟอร์แมตไหนที่ถูกนำไปใช้งานแล้วบ้าง?

ตอบ: ลองดูหน้า implementations


ถาม: ผมควรจะใช้ไมโครฟอร์แมตอันไหน?

ตอบ: มีความเป็นไปได้ว่าเว็บไซต์ของคุณมีข้อมูลที่คล้ายคลึงกับไมโครฟอร์แมตหลายๆแบบอยู่แล้ว ยกตัวอย่างเช่น คุณคงมีข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล และ/หรือ ที่อยู่ติดต่อของเค้าที่ไหนซักที่ คุณสามารถ mark up ข้อมูลเหล่านี้ด้วย hCard (ลองดูหน้า hCard authoring สำหรับวิธีใช้งานอยางละเอียด หรือถ้าคุณกำลังจะประกาศข่าว (press release) ลองใช้ hAtom ดูสิ


ถาม: คุณมีตราไมโครฟอร์แมตที่ผมสามารถลิงก์มาจากหน้าเว็บหรือบล๊อกของผมหรือไม่?

ตอบ: เรามีตราอยู่ที่ buttons แต่เราเปิดรับตราใหม่ๆเสมอ! ส่งตราที่คุณทำมาให้เราได้เลย!


ถาม. มีเครื่องมืออะไรที่สนับสนุนการใช้งานไมโครฟอร์แมตบ้าง?

ตอบ. มีมากมายเลย...ลองดูที่ implementations

ถาม. มีวิธีไหนที่จะระบุได้บ้างว่าหน้าเว็บมี markup ที่สนับสนุนไมโครฟอร์แมต?

ตอบ. แอททริบิวท์ 'profile' ของ HTML HEAD สามารถบอกโปรแกรมต่างๆได้ว่าอาจจะมีไมโครฟอร์แมตอยู่ในหน้าเว็บ มาตรฐาน HTML ของ W3C ได้อธิบายเกี่ยวกับแอททริบิวท์ profile มากกว่านี้ และ คำอธิบายเกี่ยวกับ XMDP ก็เขียนเกี่ยวกับวิธีการใช้มัน

ถาม. จะดีกว่ามั๊ยถ้าผมจะใช้ URI เพื่อแทนข้อมูลเกี่ยวกับภูมิศาสตร์แทนที่จะใช้ชื่อ class แบบไมโครฟอร์แมต?

ตอบ. โดยทั่วไปแล้วเราคิดว่ามันยุ่งยากกว่า และก็ไม่ค่อยเป็นมิตรกับคนที่ตีพิมพ์ข้อมูลที่จะต้องใช้ URI แทนที่ class

คนที่ตีพิมพ์ข้อมูลภูมิศาสตร์ไม่ได้ตีพิมพ์ลิงก์ไปหาข้อมูลเหล่านั้น พวกเค้าตีพิมพ์ *เนื้อหา* ที่เกียวกับข้อมูล ภูมิศาสตร์ ต่างหาก

เพราะฉะนั้นสิ่งที่ง่ายที่สุดสำหรับผู้แต่งคือทิ้งข้อมูลที่ตีพิมพ์ในเนื้อหาและ mark up เนื้อหาภูมิศาสตร์นั้นด้วย class ที่มีความหมายแทนที่จะย้าย (หรือคัดลอก) เนื้อหาไปไว้ใน URI

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องดูว่าคุณต้องการจะสร้างลิงก์เพื่อเปิดแผนที่ไปที่จุดภูมิศาสตร์นั้นๆหรือเปล่า ในกรณีนี้การใช้งานลิงก์เป็นสิ่งที่เหมาะสมที่เดียว เพราถ้าคุณบังคับผู้ใช้ให้ต้องใช้ โปรโตคอล "geo:" แทน "http:" คุณคงทำให้ผู้ใช้งานรำคาญตายแน่ๆ

ถาม: ใครเป็นคนควบคุมไมโครฟอร์แมต?

ตอบ: An open community. Microformats are open standards licensed under Creative Commons Attribution. Much of the work here was begun on Technorati's Developer Wiki, but Technorati has since divested control of these microformat standards to the open community here. The microformats.org domain is registered to Rohit Khare (see Whois microformats.org), CommerceNet is graciously hosting the servers, but claims no control over microformat standards. Anyone may follow the established process and contribute towards the development of microformat standards.

Any required governance of the microformats IRC channel, wiki, and mailing lists (and very little has been required) is discussed by a group of volunteer administrators, who are listed on that page.

ถาม: ใครเป็นนายทะเบียนของไมโครฟอร์แมต?

ตอบ: ไม่มีนายทะเบียนกลางสำหรับไมโครฟอร์แมต การลงทะเบียนของไมโครฟอร์แมตนั้นเป็นแค่การแจกจ่ายกันโดยใช้โปรไฟล์ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโปรไฟล์ ลองดู http://microformats.org/wiki/profile-uris และ http://gmpg.org/xmdp/

ความขัดแย้งและความเข้ากันได้ในการใช้งานถูกจัดการผ่านการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นมากกว่าระบบการลงทะเบียนแบบเป็นทางการ โปรไฟล์ของไมโครฟอร์แมตปัจจุบันอยู่ที่ http://gmpg.org, http://w3.org, และ http://microformats.org.

ถาม: ถ้าอย่างนั้นไมโครฟอร์แมตหลายๆอันที่มีชื่อเดียวกันก็ได้หรือ?

ตอบ: ใช่แล้ว แต่เราหวังว่าชุมชนที่ microformats.org จะสามารถทำหน้าที่นำคนจากหลากหลายที่ๆสนใจในไมโครฟอร์แมตมาร่วมในการออกความเห็นและตอบคำถามข้อนี้ร่วมกัน ตราบใดที่แต่ละไมโครฟอร์แมตมีโปรไฟล์ที่ถูกต้อง ไมโครฟอร์แมตนั้นๆก็สามารถถูกนำไปใช้ได้

ถาม: ผมจะรู้ได้ยังไงว่าไมโครฟอร์แมตในเนื้อหาของผมถูกต้องหรือเปล่า?

ตอบ: ณ​ ปัจจุบัน ยังไม่มีเครื่องมือตรวจสอบความถูกต้องทั่วไปสำหรับทุกไมโครฟอร์แมต (ลองดู สิ่งที่ต้องทำ - สำหรับทุกไมโครฟอร์แมต) อย่างไรก็ตาม มีเครื่องมือสำหรับตรวจสอบบางไมโครฟอร์แมตอยู่ที่หน้า implementations ที่จะสามารถช่วยให้คุณตรวจสอบความถูกต้องได้ โอเปอร์เรเตอร์ ก็เป็นอีกเครื่องมือนึงที่สามารถ parse ไมโครฟอร์แมตโดยทั่วๆไปได้ค่อนข้างดี สำหรับ hCard ลองดู บริการ Technorati Contacts Feed สำหรับ hCalendar ลองดู บริการ Technorati Events Feed นอกจากนั้นการส่งตัวอย่างของคุณไปที่ กลุ่มข่าว microformats-discuss และเพิ่มตัวอย่างไปไว้ในส่วน ตัวอย่าง/การใช้งาน ของแต่ละหน้ายังทำให้ชุมชมมีส่วนร่วมในการให้ความเห็นและตรวจความถูกต้องให้กับคุณได้เหมือนกัน

ถาม: ไมโครฟอร์แมตจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องความเข้าใจทางภาษาได้ยังไง?

เราจำเป็นที่จะต้อง "บังคับ" นักพัฒนาเว็บที่ไม่ได้พูดภาษาอังกฤษเป็นพื้นฐานให้ใช้อะไรเช่น class="name" (แทนที่จะเป็น "namen" หรือ "nom") เพื่อให้เนื้อหาของเค้าสามารถถูกทำดัชนีโดย search agents ด้วยหรือ?

ตอบ: ใช่แล้ว แต่มันก็ไม่ต่างอะไรกับการใช้คำภาษาอังกฤษอย่าง "class", "span" หรือ "head" ปัญหานี้ได้มีการถกเถียงกันในกลุ่มข่าว microformats-discuss ในเรื่อง "Language Maps" แต่ก่อนหน้านี้ก็มีการถกเรื่องนี้เหมือนกัน บางคนก็ได้บอกมาว่าไมโครฟอร์แมตใช้ชื่อภาษาอังกฤษสำหรับ properties และพวกเค้าต้องการให้ใช้ชื่อเป็นภาษาอื่นๆ (ที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ) ได้ด้วย และก็จะสร้าง mapping ระหว่างภาษาเหล่านั้น

เนื่องจากว่าไมโครฟอร์แมตมีพื้นฐานบนมาตรฐานที่มีอยู่แล้ว (ลองดู process และ naming-principles) นี่เลยกลายเป็นปัญหาที่อยู่นอกเหนือไมโครฟอร์แมต อย่างที่ไรอัน คิงได้ว่าไว้ ปัญหานี้เป็น "ปัญหา" ที่มีอยู่แล้วและยังไม่ได้ถูกแก้ไขจาก HTML, CSS, HTTP และมาตรฐานอื่นๆที่อิงกับภาษาอังกฤษเป็นหลัก กรุณาทำความเข้าใจว่านี่ไม่เกี่ยวกับการแปลข้อมูลให้เป็นภาษาต่างๆ - ซึ่งก็เป็นเป้าหมายที่ดีซึ่งองค์กรที่สร้างมาตรฐานต่างๆ (เช่น W3C, IETF) ต่างก็สนับสนุนเป้าหมายนี้ ปัญหานี้เป็นปัญหาที่เกี่ยวชื่อของ property และค่าที่อนุญาติสำหรับ property ในไมโครฟอร์แมต ลองดู internationalization ด้วย

ถาม: ทำไมบางครั้งไมโครฟอร์แมตที่ดูเหมือนใช้งานได้แล้วกลับยังอยู่ในสถานะเป็นเอกสารฉบับร่างอยู่?

ตอบ: คุณแทนเทคได้พูดถึงเรื่องนี้ในการอภิปรายหัวข้อThe Growth and Evolution of Microformats ที่ผ่านมาเมื่อเร็วๆนี้ในงานสัมนา SXSW โดยเขาได้อธิบายว่าก่อนที่จะเปลี่ยนสถานะของไมโครฟอร์แมตจากเอกสารฉบับร่างเป็นมาตรฐานนั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีโปรแกรมที่นำฟอร์แมตนั้นไปใช้จริงๆก่อน ถึงแม้ว่าโปรแกรมนั้นจะยังเป็นตัวทดลองอยู่ก็ตาม เหตุผลก็คือมันค่อนข้างยากที่จะเห็นช่องโหว่ในไมโครฟอร์แมตจากการอ่านและตรวจด้วยตาเปล่า แต่เมื่อได้ทดลองเขียนโปรแกรมเพื่ออ่านไมโครฟอร์แมตนั้นจริงๆ จะสามารถเห็นช่องโหว่และข้อผิดพลาดของฉบับร่างได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น (สืบเนื่องจากหลักการ DRY / Don't Repeat Yourself) หลังจากที่เครื่องมือสำหรับไมโครฟอร์แมตนั้นได้ถูกสร้าง (ซึ่งหมายความว่าฟอร์แมตนั้นเหมาะสมพอที่จะนำมาเขียนโปรแกรมต่างๆได้) ไมโครฟอร์แมตจึงจะเปลี่ยนสถานะจากเอกสารฉบับร่างเป็นมาตรฐาน (หรือ Specification) เพื่อนำไปสู่การเขียนโปรแกรมอื่นๆเพิ่มเติมต่อไป

การสร้างและเสนอไมโครฟอร์แมตใหม่

ถาม. ผมอยากจะสร้างไมโครฟอร์แมตใหม่สำหรับเว็บไซต์/ธุรกิจของผม จะเริ่มอย่างไรดี?

ตอบ. สิ่งแรกที่คุณต้องทำก่อนที่จะสร้างไมโครฟอร์แมตใหม่คือพยายามใช้งาน POSH และไมโครฟอร์แมตต่างๆที่มีอยู่ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ในเว็บไซต์ของคุณ เพื่อที่จะเรียนรู้ว่ายังเหลืออะไรที่จะต้องเพิ่มเติมในฟอร์แมตใหม่ของคุณ ก่อนอื่นเลยคุณจะต้อง:

  • Mark up บุคคุลหรือองค์กรด้วย hCards
  • Mark up เหตุการณ์ต่างๆและสิ่งที่อ้างอิงเรื่องวันและเวลาด้วย hCalendar
  • Mark up บทวิจารณ์ด้วย hReviews.
  • ฯลฯ

จากนั้นก็เข้าร่วมในกลุ่มสนทนาเกี่ยวกับไมโครฟอร์แมตและขอความคิดเห็นจากสมาชิกในกลุ่มว่าพวกเขาคิดอย่างไรกับการใช้งานไมโครฟอร์แมตของคุณ และจะมีวิธีพัฒนาวิธีการใช้งานของคุณหรือไม่

จากประสบการณ์นี้คุณจะสามารถพบว่ามีอะไรที่ยังขาดไปและต้องเพิ่มเข้าไปในไมโครฟอร์แมตใหม่ของคุณบ้าง ถ้าไม่ใช้วิธีนี้คุณจะพบว่ามันยากเกินไปที่จะมองเห็น "ภาพรวมของปัญหา" ทั้งหมด

หลังจากคุณได้ทำสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น ลองดูแนวทางปฏิบัติเพื่อเรียนรู้ขั้นตอนต่างๆในการสร้างไมโครฟอร์แมตใหม่ และแจงรายละเอียดปัญหาที่คุณต้องการแก้ไขให้กับกลุ่มสนทนาเกี่ยวไมโครฟอร์แมตได้รับทราบ วิธีนี้จะช่วยให้คุณหาคนที่สามารถช่วยคุณแก้ปัญหาได้อีกด้วย

ถาม ผมจะรู้ได้ยังไงว่าไอเดียสำหรับไมโครฟอร์แมตถูกเสนอมาแล้วหรือยัง?

ตอบ. ลองเช็ครายชื่อไมโครฟอร์แมตที่ถูกเสนอและตอบปฏิเสธที่

ถาม. จะทำยังไงถ้าผมหาตัวอย่างการใช้งานจริงสำหรับมาตรฐานที่ผมอยากนำเสนอไม่ได้?

ตอบ. ถ้าเราไม่สามารถหาตัวอย่างการใช้งานจริงสำหรับ ชนิดของข้อมูล ที่คุณต้องการการนำเสนอ มันคงไม่เหมาะที่จะเป็นไมโครฟอร์แมต แต่ถ้าเราแค่ไม่สามารถหาตัวอย่างการใช้งานจริงสำหรับ markup บางตัว เราอาจใช้การนำเสนอนั้นได้ โดยทั่วไปแล้วกรณีเกี่ยวกับ markup มักไม่ใช่ปัญหาจริงๆ เพราะปัญหาเหล่านี้ส่วนใหญ่เกิดจากการขาดมาตรฐานในการ markup เวลาใช้งานจริง ซึ่งหมายความว่าจะต้องมีการถามความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่ว่าควรใช้ markup แบบไหนมากกว่า

คำถามเจาะจงเกี่ยวกับไมโครฟอร์แมต

ถ้าคุณมีคำถามเกี่ยวกับไมโครฟอร์แมตอันใดอันหนึ่ง ลองเช็คที่คำถามที่ถูกถามบ่อยๆสำหรับไมโครฟอร์แมตนั้นๆดูสิ

Class interactions

Q. Are there issues with page styling when specific class values are used?

A. There might be. However, any such issues can be easily (trivially) worked around by using contextual selectors.


Q. How does the use of class values for semantics interact with the use of class values for attaching CSS styles?

A. The class attribute takes a space separated set of class names HTML4 reference. Thus both author and microformat defined class names may be used in the same class attribute. In addition, microformat class names provide the author with a consistent set of class names to use for styling. If the author is already using using specific class names, they can continue to do so, and include microformat class names. If the author is already using a class name that happens to also be a microformat class name, then the author may want to consider using contextual CSS class selectors to make sure that avoid any unintentional styling effects.

See also:


การใช้ <div> และ <span>

ถาม. การใช้ div นั้นไม่มีความหมายเลยหรือ?

ตอบ. ใช่แล้ว ทั้ง <div> และ <span> เรียกได้ว่าแทบจะไม่มีความหมายเท่าไร <div> สามารถแทนที่ "ส่วนใดส่วนหนึ่ง" ของเนื้อหา ส่วน <span> สามารถใช้เพื่อแทนที่ "ช่วงใดช่วงหนึ่ง" ของประโยคที่มีความหมายพิเศษ แต่ไม่ได้ระบุอย่างเจาะจงว่าช่วงนั้นของประโยคหมายถึงอะไร


ถาม. การใช้ <div> และ <span> จะเพิ่มคุณค่าความหมายให้กับหน้าเว็บหรือเปล่า?

ตอบ. ตามที่ได้ระบุไว้ใน สเป็ก HTML 4 <div> และ <span> "เป็นกลไกคร่าวๆเพื่อเพิ่มโครงสร้างให้กับเนื้อหา" ความหมายเดียวของอีลีเม้นต์เหล่านี้คือเพื่อแบ่งเอกสารเป็นส่วนๆ ซึ่งหมายความได้ว่าส่วนนั้นอาจจะมีความหมายบางอย่างพิเศษ แต่ไม่สามารถบอกได้จาก markup ได้ว่าความหมายนั้นคืออะไร

ถาม. ทำไมตัวอย่างในวิกินี้ถึงใช้ <span> และ <div> เพื่อแทนความหมายเกือบจะทุกอย่างเลยล่ะ?

ตอบ. <span> และ <div> เป็นอีลีเม้นต์ที่ไม่ได้มีความหมายเฉพาะใน HTML เมื่อคุณใช้ไมโครฟอร์แมตคุณควรเลือกอีลีเม้นต์ที่ตรงกับความหมายที่สุดเท่าที่จะทำได้เป็นอันดับแรกและก็ให้ความหมายไมโครฟอร์แมตผ่าน class เช่นคุณสามารถใช้ class="vevent" กับ <tr> หรือ class="vcard" กับ <p> ก็ได้

Class semantics

ถาม. ชื่อของ class ในไมโครฟอร์แมตจะมีผลกับขนาดของหน้าเว็บยังไงบ้าง?

ตอบ. คุณจะไม่ค่อยเห็นผลกระทบกับขนาดของหน้าเว็บที่ใช้ไมโครฟอร์แมตซักเท่าไร จากประสบการณ์ของเราคนก็ใช้ชื่อ class ที่ยาวพอๆกับชื่อ class ในไมโครฟอร์แมต และ semantic class names เองก็ถือเป็น best practice ในแวดวงเว็บในตอนนี้เหมือนกัน บางเว็บไซต์ส่งหน้าเว็บที่ใช้ไมโครฟอร์แมตเป็นล้านๆหน้าแต่ก็ไม่บ่นอะไรกับเรื่องขนาดของหน้าเว็บที่เพิ่มขึ้นเลยแม้แต่น้อย เราคิดว่าคุณน่าจะประหยัดเนื้อที่ได้มากกว่าด้วยซ้ำถ้าคุณลองทำตาม หลักการของไมโครฟอร์แมต และเลิกใช้ table เพื่อจัด layout ของหน้าเว็บคุณ TODO: Consider creating a new section for web authoring tips? Or at least linking to another site that advocates good authorship.

ถาม. หนึ่ง element สามารถมีได้หลาย class หรือเปล่า

ตอบ. element สามารถมีได้หลายๆ class โดยใช้เว้นวรรคเป็นตัวคั่นแต่ละ class ใน attribute เช่น:

  <p class="todo idea">เขียน mark-up ที่มีคุณภาพ</p>

ลองดูสเป็กของ HTML 4.01 จาก W3C ที่: 7.5.2 Element identifiers: the id and class attributes

ถาม. ชื่อของ class ใน (X)HTML มีความหมายหรือเปล่า?

ตอบ. สเป็ก HTML4 ไม่ได้ระบุค่าที่ class จะเป็นได้เอาไว้ REF และก็ไม่ได้บอกด้วยว่าค่าของ class จะต้องมีความหมายแบบใดแบบหนึ่ง REF เพียงแค่บอกว่าค่าของ class "สามารถถูกนำไปใช้เพื่อประมวลผลโดย user agent ทั่วไป" REF อย่างไรก็ตาม " เอกสารฉบับร่างชื่อ "Hypertext Links in HTML" อนุญาติให้ "profile" ระบุความหมายพิเศษสำหรับค่าของ class ได้ XMDP เป็นฟอร์แมตหนึ่งที่ระบุ profiles สำหรับ (X)HTML ซึ่งคุณสามารถนำมาใช้เพื่อให้ความหมายของชื่อ class ได้

ลองดู:

Q. I thought one of the main goals of CSS was to separate data from presentation. Isn’t this sneaking presentation back into data?

A. This is a quite commonly expressed objection to the way microformats uses class, but it's based on a misunderstanding of the way the class attribute in HTML was designed. Yes, class is very commonly,and appropriately used by web designers in conjunction with CSS to style pages, and in truth, it is often overused for that, but despite this, class, according to the HTML specification "has several roles in HTML", including "for general purpose processing by user agents".

Microformats utilize this second aspect of the class (and id) attribute, and do so legitimately. It is not an abuse of the class or id attribute to use it to add semantic context to a document. Nor is the use of class in and of itself presentational - in fact, it is an important mechanism for separating presentation from structured content.

For some more on using class semantically, here are some articles

ถาม. เราควรใส่ข้อมูลที่ต้องการให้ผู้อ่านได้อ่านไว้ในชื่อ class หรือเปล่า?

ตอบ. เราไม่ควรใส่ข้อมูลที่เขียนเพื่อให้ผู้อ่านได้อ่านไว้ใน class attribute เพราะว่าการทำแบบนั้นจะทำให้ข้อมูลไปอยู่ในจุดที่ผู้อ่านไม่สามารถเห็นได้ ดู หลักการ.

ถาม. ถามต่อ แล้วการใส่ข้อมูลไว้ในชื่อ class มันต่่างอะไรกับการใส่ไว้ใน title attribute ล่ะ?

ตอบ. title attribute นั้นถูกแสดงในทูลทิปในหลายๆเบราว์เซอร์ และก็ถือว่าเกือบๆจะมองเห็นได้โดยผู้ใช้ทั่วไป แต่ class attribute นั้นจะไม่ถูกแสดงเลย ไม่ว่าจะเป็นในทูลทิปหรือในส่วนอื่นๆของ user interface (ไม่นับรวม user interface ที่ใช้โดยนักพัฒนา เช่นตอนดูซอร์สโค้ด).

Microformats and Spam

Q. Given that Google now looks at hidden content as potential spam, will invisible microformats be considered spam?

A. It is advisable not to hide information in your site, regardless of whether it is microformatted or not. Microformats provide a mechanism for marking up visible content. Any mechanism for embedding invisible or hidden content risks being considered spam due to the fact that invisible (meta)data inevitably ends up being abused. Avoid invisible (meta)data. Publish visible data.

Design Patterns with Abbr & Title

Q. Why is ABBR being used when the title attribute is available on all HTML elements?

In the datetime design pattern the title attribute is used for the value of the property and the node value is used as the display value. <abbr title="value-here">Display-Here</abbr>.

A. The short answer is that <abbr> has the correct semantics.

The longer answer is that the value is often an abbreviated version of the formal value. Of course, if you don't want to use an <abbr>, you can use another element like this:

<abbr title="2006-12-31T12:59:59Z" class="dtstamp">New Year</abbr>

<span class="dtstamp">2006-12-31T12:59:59Z</span>

In addition, microformats encourage the content to be visible and thus prefer the text of an element rather than using the 'title' attribute or any other less visible alternative. The exception is made for datetimes and abbr due to the fact that microformats are for humans first, machines second. Thus the content of the abbr element is used to provide human visible content and the machine equivalent is placed in the less visible (but still easily verifiable) 'title' attribute.

การใช้ element ซ้อนกัน

ถาม. ดูเหมือนว่า <span class="vcard fn org" id="club">...</span> น่าจะใช้งานได้นี่นา ถูกหรือเปล่า?

ตอบ. คำตอบคือผิด ลองดู hcard-faq#nesting-properties.

See Also